x
Submitted by CUEDU_PR on 21 November 2022

#EDUCUNEWS บรรยายสาธารณะ "The Cognitive Science in Higher Education at Scale"

.

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ เป็นประธานเปิดงานบรรยายสาธารณะ The Cognitive Science in Higher Education at Scale จัดโดย National University of Singapore, ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา ร่วมกับหน่วยวิจัยทางการศึกษาพิเศษและการเรียนรวม โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สตีเฟน ลิม จาก National University of Singapore บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรินทร วินทะไชย์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ บรรยายเป็นภาษาไทย

.

การบรรยายสาธารณะหัวข้อ The Cognitive Science in Higher Education at Scale กล่าวถึงประสบการณ์การศึกษาจาก Cognition and Education Lab และการทำงานร่วมมือกับนักวิจัยในมหาวิทยาลัยชั้นนำจากทั่วโลก โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สตีเฟน ลิม นำเสนอเส้นทางเพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ด้าน Cognitive Science จากการศึกษาเชิงประจักษ์ (evidence based education) ไปสู่ความร่วมมือระดับโลก ด้วย 4-Step Blueprint ประกอบด้วย

.

Step 1: Evidence-Based Education ใช้หลักการ Backward Design หมายถึงการเริ่มต้นด้วยความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับจุดหมายปลายทาง การที่รู้ว่าจะดำเนินการต่อไปในทิศทางใด จะช่วยให้ทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีและถูกต้อง เช่น เราทำการศึกษาย้อนกลับ ตั้งแต่การออกแบบการเรียนการสอน และหลักฐานประกอบการเรียนรู้ นำมาสู่การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้

.

Step 2: Inner Circle of Liked-Minded Educators การสร้างเครือข่ายการทำงาน โดยเริ่มจากการรวบรวมนักการศึกษา ครู อาจารย์ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษาที่มีความสนใจร่วมกันและมีความตั้งใจจริงเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้ร่วมกัน

.

Step 3: Local University Communities การขยายองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ จากบริบทหนึ่งไปสู่บริบทหนึ่ง และเพื่อให้ได้มุมมองและผลลัพธ์ ที่แตกต่าง ฝึกฝนการเชื่อมโยงองค์ความรู้รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปสู่การมองภาพรวมขององค์ความรู้ที่กว้างกว่า ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า ศาสตร์แห่งการรู้คิด

.

และ Step 4: Teaching Communities Worldwide เน้นการสร้างพันธมิตรเครือข่ายกลุ่มนักวิชาการและสร้างความร่วมมือกับมหาลัยระดับตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับโลก

.

จากนั้นเป็นการนำเสนอผลการวิจัย เรื่อง The Framework of Cognitive Abilities for Thai Children ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง รองศาสตราจารย์ ดร.สตีเฟน ลิม และนักวิจัยไทยได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรินทร วินทะไชย์

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอกรอบแนวคิดการวัดความสามารถทางปัญญาสำหรับเด็กไทย ซึ่งจะทำให้โรงเรียนมีเครื่องมือในการวัดความสามารถทางปัญญาของนักเรียน เพื่อให้บริการการจัดวางตัวบุคคล และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนอย่างไม่มีข้อจำกัด