x
Submitted by CUEDU_PR on 28 November 2022

#EDUCUNEWS “กว่าจะมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน Walt Disney”

.

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์จัดการเสวนาในหัวข้อ “กว่าจะมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน Walt Disney” โดยมีคุณ Mattthew Benjakarn Braly ผู้กำกับ ผู้ผลิต และศิลปินบอร์ดภาพ (Storyboard Artist) ภาพยนตร์การ์ตูน Amphibia จาก Walt Disney TV Animation ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ทำงาน

 

.

การเสวนาในครั้งนี้จัดในรูปแบบ Hybrid ทั้ง onsite ที่ห้อง 401 อาคารประชุมสุข อาชวอำรุง คณะครุศาสตร์ และ online ผ่านทางแอปพลิเคชัน Zoom โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมจำนวนมากกว่า 300 คน โดยสาระของการเสวนาในครั้งนี้ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เส้นทางการเดินทางและความสนใจด้านแอนิเมชันตั้งแต่ในวัยเด็กของ Matthew การเขียนบทภาพยนตร์การ์ตูนและ Bible book ในโลกการ์ตูนที่สร้างขึ้น และส่วนสุดท้ายคือแนวคิดในการทำงานเป็นทีมในสายอาชีพแอนิเมชัน

Matthew ได้บรรยายถึงประสบการณ์ทำงานในวงการภาพยนตร์การ์ตูนระดับโลก ตั้งแต่การฝึกงานกับ Pixar Studio และเข้าทำงานต่อใน Dreamworks และปัจจุบันทำงานเป็นระยะเวลากว่า 11 ปี ที่ Walt Disney สร้างสรรค์ผลงานการ์ตูนซีรีส์ลงในช่องการ์ตูน Disney Chanel หลายเรื่อง ผลงานได้รับรางวัลระดับโลกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น Gravity Falls ได้รับรางวัลการกำกับยอดเยี่ยมจาก Annie Awards ครั้งที่ 43 ในปี 2016 และผลงาน Amphibia ในสาขาตัวละครยอดเยี่ยมจากเวทีเดียวกันในปี 2021 โดยผลงานการพัฒนาตัวละครและเขียนบทภาพยนตร์การ์ตูน เรื่อง Amphibia (ครึ่งบกครึ่งน้ำ) ของ Matthew เกิดจากแรงบันดาลใจที่ได้มาจากการที่เป็นคนไทย จึงได้พัฒนาตัวนำหลักในเรื่องเป็นเด็กหญิงชาวไทย-อเมริกัน ชื่อ แอน ศวิสา บุญช่วย ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการได้เห็นภาพของคุณย่าในวัยเยาว์

.

Matthew ได้ให้หลักและแนวคิด 10 ข้อในการทำงานอนิเมชันที่ถอดบทเรียนมาจากประสบการณ์ทำงานตลอดระยะเวลา 14 ปีให้แก่ผู้ ฟังโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน นิสิตนักศึกษา ตัวแทนจากอุตสาหกรรมอนิเมชัน และอาจารย์จากหลากหลายสถาบัน ว่าการทำงานในปัจจุบันจำเป็นจะต้องมีความสามารถที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการสื่อสารเพื่อทำให้การทำงานร่วมกับทีมที่มีความสามารถที่แตกต่างไปถึงเป้าหมายเดียวกันได้

.

อีกทั้งแนวทางในการหาแรงบันดาลใจสำหรับการเขียนเรื่องอาจมาจากเรื่องราวเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น วิดีโอเกม จะช่วยทำให้เปิดโลกทัศน์และจินตนาการในการทำงานและวิธีการสร้างตัวละครจำเป็นต้องมีความเข้าใจบริบท เพื่อความสอดคล้องและสมจริงในการเล่าเรื่อง รวมถึงควรรับฟังผลตอบรับในการทำงานจากผู้ชมเสมอ ท้ายที่สุดการทำงานที่ดีจะเป็นการทำงานอยู่บนเส้นเวลาที่เหมาะสมและควรพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ