x
Submitted by CUEDU_PR on 19 January 2023

#EDUCUNEWS "บรรยายเชิงปฏิบัติการหัวข้อ Translating Educational Research into Classroom Practice"

.

วันอังคารที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 9.00-12.00 น. Associate Professor Stephen Lim, Ph.D. จาก National University of Singapore, Visiting Scholar ของภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา ให้เกียรติบรรยายเชิงปฏิบัติการหัวข้อ Translating Educational Research into Classroom Practice โดยมีคณาจารย์ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาและระดับปริญญาบัณฑิต และผู้สนใจ เข้าร่วมฟังบรรยาย

 

การบรรยายมีสาระสำคัญดังนี้

การนำผลงานวิจัยทางการศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน

บทความวิจัยที่เขียนในเชิงวิชาการอาจเป็นเรื่องยากและซับซ้อนสำหรับผู้อ่านทั่วไปในการทำความเข้าใจ งานวิจัยทางการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ทุกวันและมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น แต่มีเพียงครูผู้สอนไม่กี่คนเท่านั้นที่อ่านเนื่องจากความยากของภาษาความเป็นวิชาการ จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำข้อค้นพบจากงานวิจัยไปใช้ในห้องเรียนจริง ดังนั้นบทความวิจัยจึงควรมีการเขียนให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นและสามารถไปปรับใช้ได้ในการจัดการเรียนการสอน

รองศาสตราจารย์ ดร.สตีเฟน ลิม ได้นำเสนอตัวอย่างการวางแผนการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบและแนะนำวิธีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จากแนวคิดของ Bloom’s Taxonomy ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์ของผู้เรียน มักจะแสดงระดับของสามเหลี่ยมพีรามิดที่ผู้เรียนเรียนรู้ ระดับสูงสุดของอนุกรมวิธานของวัตถุประสงค์ทางการศึกษาของ Bloom คือการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนเพื่อค้นคว้าต่อได้ เพื่อต้องการให้ผู้เรียนรู้วิธีการถามคำถามที่ดี การถามคำถามที่ดีนั้นสะท้อนถึงการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้สิ่งที่ครูหรืออาจารย์ทำเพื่อให้รู้ว่าผู้เรียนถามคำถามที่ดีหรือไม่นั้นคือการขอความคิดเห็นจากผู้สอนท่านอื่นๆ ว่าคำถามนั้นดีหรือน่าค้นคว้าหรือไม่ โดยวิธีการสอนจะมีความคล้ายกับแนวคิดการใช้ยา เพราะต้องเป็นวิธีการใช้ทดลองก่อนใช้ เช่น การฉีดวัคซีน เพราะความรู้สึกอย่างเดียวไม่สามารถใช้ได้ ในทำนองเดียวกันวิธีการสอนต้องได้รับการพิสูจน์จากผู้วิจัยว่าวิธีการสอนนั้นดีแล้ว จึงจะนำมาใช้ได้

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สตีเฟน ลิม ได้ยกตัวอย่างวิธีจัดการเรียนรู้ ซึ่งวิธีการที่มีประสิทธิภาพจะนำมาสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ของผู้เรียน

ศึกษา —> ศึกษาซ้ำ —> แผนผังมโนทัศน์ —> ปฏิบัติการสอนผู้อื่น

ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.สตีเฟน ลิม ได้นำเสนอวิธีการสอนแบบ Retrieval Practice (การเรียนรู้โดยการสอน) โดยผู้เรียนจะสามารถนำข้อมูลในหัวไปแบ่งปันและสอนผู้อื่นได้ ทั้งนี้ในการสืบค้นแบบฝึกหัด อาจารย์หรือครูผู้สอนควรให้เวลาและโอกาสแก่นักเรียนในการสอนแก่นักเรียนคนอื่นๆ เมื่อผู้เรียนรู้จักวิธีสอนผู้อื่นหรือเพื่อนในห้องเรียน เท่ากับว่าผู้เรียนเข้าใจและเรียนรู้ไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการสอนใครบางคน ควรมีการบันทึกเทปหรือวิดีโอเพื่อที่สามารถตรวจสอบพฤติกรรมการกระทำและการสื่อสารระหว่างการสอนของครูหรือผู้สอนได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการสื่อสารที่เงียบ ซึ่งแทนที่จะพูดเสียงดังและพูดคุยกับผู้อื่น เราจะการสื่อสารเงียบ ๆ ว่าคำสอนคืออะไรและนำเสนออย่างไร

ระหว่างงานบรรยายเชิงปฏิบัติการรองศาสตราจารย์ ดร.สตีเฟน ลิม แสดงกราฟการวิจัยแสดงให้เห็นว่า Retrieval Practice ไม่เป็นที่นิยม แต่เป็นวิธีที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้เป็นผู้เรียนที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ ผู้เรียนส่วนใหญ่ชอบวิธีการเรียนซ้ำมากที่สุดแม้ว่าผลการเรียนรู้จะไม่ได้ผลก็ตามนอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าการสอนที่ไม่มีสอนคืนนั้นอาจไม่เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ในส่วนของช่วงที่สอง รองศาสตราจารย์ ดร.สตีเฟน ลิม จัดกิจกรรม Workshop โดยแบ่งผู้เข้าร่วมงานบรรยายเชิงปฏิบัติการออกเป็นกลุ่มโดยให้มีการพูดคุยกันภายในกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และจัดเรียงลำดับการจัดการเรียนการสอนภายในห้องเรียน หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มนำเสนอประเด็นที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนกัน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สตีเฟน ลิม จะเป็นผู้ให้ข้อเสนอและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนและประเด็นหัวข้อที่สอนว่ามีรูปแบบการสอนที่ครอบคุมเพียงพอที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการในด้านใดเพิ่มเติม

…..

การบรรยายในครั้งต่อไปของ Associate Professor Stephen Lim, Ph.D. ในหัวข้อ Publishing Educational Research in Top International Journals จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 24 มกราคม 2566 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้อง 704 อาคารพระมิ่งขวัญการศึกษาไทย ขอเชิญคณาจารย์ นิสิตและผู้สนใจเข้าร่วมฟังในวันและเวลาดังกล่าว เข้าฟังฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย