x
Submitted by CUEDU_PR on 30 July 2020

เมื่อวันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.30น. โครงการ EDUCoWorking จัดการเสวนาหัวข้อ “Inclusive Technology for Students with Special Needs” โมบายแอปพลิเคชันช่วยสนับสนุนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เข้าถึงและสอดคล้องต่อสถานการณ์ เสวนาโดย นายปรเมศวร์ เบญจวรรณ  Apple Certified Trainer Ph.D. candidate ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ดำเนินการเสวนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวดี  ถังคบุตร อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ

ปัจจุบันมีนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษทางด้านการมองเห็นจำนวนมาก ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็น หรือมองเห็นเลือนรางยังคงต้องมีอุปกรณ์ เครื่องมือช่วยเหลือ รวมถึงแอปพลิเคชันช่วยสนับสนุนนักเรียนที่ช่วยเพิ่มประโยชน์ในการดําเนินชีวิตและการเรียนรู้สำหรับผู้บกพร่องทางการเห็นให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเช่นเดียวกับคนที่มีสายตาปกติ โดยผู้ที่มีความต้องการพิเศษทางการมองเห็นแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ มองไม่เห็น สายตาเลือนลาง และ Dyslesia (การเรียนรู้ภาษาที่ส่งผลให้ไม่สามารถอ่าน สะกดคำ) ทั้งสามลักษณะมีแนวทางการออกแบบสื่อที่ครูผู้สอนสามารถนำไปเป็นแนวทางการออกแบบสื่อได้ดังนี้ดังนี้

1.ผู้ที่มองไม่เห็น แนวทางการออกแบบ หากทรัพยากรในการผลิตมีเพียงพออาจจะออกแบบและผลิตอักษรเบล เพื่อที่นักเรียนจะสามารถอ่านและเข้าใจเนื้อหาได้

2.สายตาเลือนราง ควรใช้ฟอนต์ที่มีตัวหนา เพิ่มขนาด ไม่น้อยกว่า 150% ของสายตาปกติ ไม่ใส่เนื้อหามากจนเกินไป ไม่เน้นลวดลาย ระยะห่างระหว่างบรรทัดไม่น้อยกว่า 150% ของสายตาปกติ  ควรพิมพ์บนกระดาษที่มีสีขาวหรือสีเหลืองนวล สีของข้อความควรมีความชัดเจน เห็นได้ชัด ไม่อ่อนจนเกินไป

3.แนวทางการออกแบบโมบายแอปพลิเคชันสำหรับนักเรียนที่มองไม่เห็น ควรมีเสียงคำถามคำตอบ และเนื้อหา  ส่วนผู้ที่มีสายตาเลือนราง ควรมีฟอนต์ขนาดใหญ่ ภาพไม่สั่นหรือกระตุก ส่วนผู้ที่มีสายตาเลือนราง ควรเว้นระยะห่างระหว่างองค์ประกอบ ระยะห่างระหว่างบรรทัด สามารถเปลี่ยนสีฟอนต์ได้  สำหรับนักเรียน Dyslesia (การเรียนรู้ภาษาที่ส่งผลให้ไม่สามารถอ่าน สะกดคำ) ฟอนต์ควรมีขนาดใหญ่ มีเสียงอ่านตัวอักษรที่พิมพ์ หลีกเลี่ยงเอฟเฟ็กต์ของภาพ

ทุกท่านสามารถดูการเสวนาย้อนหลังได้ที่ ETC - Chulalongkorn University